ตารางธาตุของเมนเดเลเอฟ

ในระหว่างปี พ.ศ. 2412 – 2413 (ค.ศ. 1269 – 1270) ยูลิอุส ไมเออร์ (Julius Meyer) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน และดิมิทรี เมนเดเลเอฟ (Dimitri Mendelejev) นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียได้พบในเวลาใกล้เคียงกันว่าสมบัติต่าง ๆ ของธาตุมีส่วนสัมพันธ์กับมวลอะตอมของธาตุกล่าวคือ “ถ้าเรียงลำดับธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปหามาก จะพบว่าธาตุ ๆ ต่าง จะมีสมบัติคล้ายคลึงกันเป็นช่วง ๆ ” ซึ่งเมเดเลเอฟได้ตั้งเป็นกฎเรียกว่า “กฎพิริออดิก” หรือกฎตารางธาตุ (Periodic law) และพิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2412 ก่อนที่ไมเออร์จะพิมพ์เผยแพร่ครั้งหนึ่ง ดังนั้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เมนเดเลเอฟ จึงเรียกตารางนี้ว่า “ตารางพีริออดิกของเมนเดเลเอฟ” หรือตารางธาตุของเมนเดเลเอฟ (Mendelejev’ s periodic table)

เกณฑ์ที่สำคัญที่เมนเดเลเอฟใช้คือ จัดธาตุที่มีสมบัติคล้ายคลึงกันที่ปรากฏซ้ำกันเป็นช่วง ๆ ให้อยู่ในหมู่หรือในแนวตั้งเดียวกัน และพยายามเรียงลำดับมวลอะตอมจากน้อยไปหามาก ในกรณีที่เรียงตามมวลอะตอมแล้วสมบัติของธาตุไม่สอดคล้องกัน ก็พยายามจัดให้เข้าหมู่โดยปล่อยให้ช่องว่างเว้นไว้ในตารางซึ่งเมนเดเลเอฟคิดว่า ช่องว่างเหล่านั้นน่าจะเป็นตำแหน่งของธาตุซึ่งยังไม่มีการค้นพบในขณะนั้น ในการจัดตารางธาตุนอกจากจะใช้มวลอะตอมแล้ว ยังใช้สมบัติทางเคมีและทางกายภาพของสารประกอบอื่น ๆ นอกเหนือจากสารประกอบคลอไรด์ และออกไซด์มาประกอบการพิจารณาด้วย

หมู่ 1
หมู่ 2
หมู่ 3
หมู่ 4
หมู่ 5
หมู่ 6
หมู่ 7
หมู่ 8

1

H 1

2

Li 7

Be 9.4

B 11

C 12

N 14

O 16

F 19

3

Na 23

Mg 24

Al 27.3

Si 28

P 31

S 32

Cl 35.5

4

K 29

Ca 40

-44

Ti 48

V 51

Cr 52

Mn 55

Fe 56 Co 59

Ni 59 Cu 63

5

(Cu 63 )

Zn 65

-68

-72

As 75

Se 78

Br 80

6

Rb 85

Sr 87

? Yt 88

Zr 90

Nb 94

Mo 96

-100

Ru104 Rh104

Pd105 Ag 108

7

(Ag 108)

Cd 112

In 113

Sn 118

Sb 122

Te 125

1127

8

Cs 133

Ba 137

? Di 138

? Ce 140

9

10

? Er 178

? La 180

Ta 182

W 184

Os 195 Ir197

11

(Au 199)

Hg 200

Tl 204

Bi 208

Bi 208

Pt 198 Au 199

12

U 240

– –

– –

รูปที่ 5.12 ตารางพิริออดิกของเมนเดเลเอฟ

ช่องว่างที่เว้นไว้คือตำแหน่งของธาตุที่ยังไม่พบในสมัยนั้น เนื่องจากตำแหน่งของธาตุในตารางธาตุสัมพันธ์กับสมบัติของธาตุ ทำให้เมนเดเลเอฟสามารถทำนายสมบัติของธาตุไว้ล่วงหน้าได้ด้วย โดยการศึกษาสมบัติเกี่ยวกับจุดหลอมเหลว จุดเดือด ความถ่วงจำเพาะ และความร้อนจำเพาะ รวมทั้งสมบัติเกี่ยวกับสารประกอบคลอไรด์ และออกไซด์

ตัวอย่างเช่น ธาตุที่อยู่ในช่องว่างใต้ Si เมนเดเลเอฟเรียกชื่อว่าธาตุเอคาซิลิคอน อีก 15 ปีต่อมาคือในปี พ.ศ. 2429 (ค.ศ. 1886) เคลเมนส์ วิงค์เลอร์ (Clemens Winkler) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันจึงได้พบธาตุนี้และเรียกชื่อว่า ธาตุเจอร์เมเนียม (Ge) นั่นเอง

ตารางที่ 5.13 เปรียบเทียบสมบัติของธาตุเอคาซิลิคอนกับเจอร์เมเนียมที่ทำนายและที่ค้นพบ

สมบัติ

เอคาซิลิคอนทำนายเมื่อ พ.ศ. 2414 (ค.ศ. 1871) เจอร์เมเนียมพบเมื่อ
พ.ศ.2429(ค.ศ.1886)
มวลอะตอม

สีของธาตุ

ความหนาแน่น (g/cm3)

จุดหลอมเหลว (0C )

สูตรของออกไซด์

ความหนาแน่นของออกไซด์ (g/cm3)

เมื่อผสมกับกรดไฮโดรคลอริก

 

72

เป็นโลหะสีเทา

5.5

สูง

GeO2

4.7

ละลายได้เล็กน้อย

72.6

เป็นโลหะสีเทา

5.36

958

GeO2

4.70

ไม่ละลายที่25 0C

นอกจากธาตุเอคาซิลิคอนแล้ว ยังมีธาตุอื่นที่เมนเดเลเอฟ ได้เรียกชื่อไว้ล่วงหน้า เช่น

ธาตุที่อยู่ใต้ B เรียกว่า เอคาโบรอน

ธาตุที่อยู่ใต้ Al เรียกว่า เอคาอะลูมิเนียม

ซึ่งปัจจุบันก็คือธาตุ Se และ Ga ตามลำดับ


การจัดตารางธาตุของเมนเดเลเอฟนั้น ถ้ายึดหลักการเรียงตามมวลอะตอมจากน้อยไปหามากอย่างเคร่งครัด จะทำให้ธาตุบางธาตุซึ่งมีสมบัติแตกต่างกันอยู่ในหมู่เดียวกัน ทำให้ต้องยกเว้นไม่เรียงตามมวลอะตอมบ้างแต่เมนเดเลเอฟก็ไม่สามารถให้เหตุผลได้ว่าเป็นเพราะเหตุใดจึงต้องเรียงลำดับธาตุเช่นนั้น เนื่องจากในขณะนั้นยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของอะตอมไม่มากพอ นักวิทยาศาสตร์ต่อ ๆ มาจึงสร้างแนวคิดใหม่ว่า ตำแหน่งของธาตุในตารางธาตุไม่ควรขึ้นอยู่กับมวลอะตอม แต่ควรจะขึ้นอยู่กับสมบัติอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับมวลอะตอม

credit:    http://www.rmutphysics.com

ใส่ความเห็น

ใส่ความเห็น

บลอกที่ WordPress.com .